โรคซึมเศร้ามีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?
การรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถทำได้หลายวิธี จากข้อมูลของ American Psychiatric Association, Oct 2020 ได้ระบุไว้ 3 วิธี คือ
1. การรักษาด้วยการทานยา (Medication) โดยปกติแล้วการได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้านั้น เพื่อการค่อยๆ ปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ในผู้ป่วยที่อาการไม่มากยิ่งสามารถรักษาได้หายขาดจากการกินยา โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์และจะไม่ได้ดีขึ้นโดยทันที เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์จะให้ทานยาต่อเนื่องไปอีก 4-6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดปริมาณยาลงในอีก 2-3 เดือนต่อมาจบหยุดยาในที่สุดเพื่อป้องกันการกลับมาป่วยซ้ำแต่ในผู้ป่วยที่ปรากฎอาการป่วยซ้ำ 2-3 ครั้ง ร่วมกับมีพันธุกรรมจากญาติผู้ป่วย หรือกลับมาเป็นซ้ำใน 1 ปี หรือเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือมีอาการรุนแรง และอันตราย 2 ครั้งใน 3 ปีแพทย์จะจ่ายยาป้องกันในระยะยาวเพิ่มให้ด้วย
ยารักษาโรคซึมเศร้าทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยต่างกันในแต่ละชนิด แพทย์ผู้รักษาจะใช้ความเชี่ยวชาญในการเลือกยาและปรับปริมาณให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นควรทานยาให้ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อผลในการปรับยาให้คงที่และเหมาะกับการรักษาของเรา ซึ่งด่านทานยารักษาโรคซึมเศร้านี้ คือด่านที่ยากที่สุดในการรักษา เพราะผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถอดทนผลข้างเคียงจากยาหรือเข้าใจเองว่ายาทำให้ร่างกายแย่ลง แล้วหยุดกินยาเอง ลดปริมาณยาเอง หรือแม้กระทั่งหยุดการรักษาเองทำให้อาการของโรคกลับมาอีกต้องเข้าสู่การรักษาใหม่อีกครั้ง
กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษา คือ SSRI (serotonin reuptake inhibitor) ซึ่งกลไกสำคัญคือจะไปยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนินกลับเข้าเซลล์ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท ปัจจุบันใช้ยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้แก่ยา Fluoxetine และ Sertraline ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ กระวนกระวาย และนอนหลับยาก หรือในบางคนอาจเกิดอาการปวดหัวที่มักจะเกิดไม่นานร่วมด้วยก็ได้
2. การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy), CBT (Cognitive Behavioral Therapy) และ Satir การรักษาด้วยจิตบำบัดนั้น ใช้วิธีการสื่อสารทางคำพูด การสื่อสารด้วยภาษาร่างกายต่างๆ และความไว้วางใจระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเช้าใจตัวเอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปัญหาหรือปรับสภาพจิตใจของผู้ป่วย มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- จิตบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆ ที่สะสมไว้ออกมาได้แบบอิสระ ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีนักจิตวิทยาที่จะช่วยดูแลให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย
- จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นการปรับความคิดความเข้าใจ จากความรู้สึกด้านลบต่างๆ ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยซึมเศร้า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นความคิดด้านลบของตัวเองและรู้วิธีที่จะจัดการวิธีคิดในทางที่เหมาะสมได้
- จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสร้างแรงจูงใจจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากโรคซึมเศร้าให้กลับมามีสมาธิอยู่กับปัจจุบันได้ ด้วยการสร้างเป้าหมายที่ขัดเจน การทำตามแผนที่วางไว้ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และฝึกการเข้าสังคม
การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาจากอาการปัจจุบันและปัจจัยทีทำให้เกิดปัญหา เพื่อปรับความคิดให้ผู้ป่วยมีกลับมามีความคิดที่สมเหตุผล ออกจากความคิดด้านลบ มองปัญหาให้ออก เข้าใจปัญหา เพื่อให้สามารถหาข้อสรุปให้กับปัญหาอาการซึมเศร้าของตัวเองได้ และช่วยป้องกันการซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้วยการใช้เทคนิคเหล่านี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การบอกอารมณ์ของตัวเองได้ว่ารู้สึกอย่างไร
- ประเมินระดับอารมณ์ของตัวเองได้ เพื่อดูระดับความรุนแรงและการขึ้นลงของอารมณ์
- อธิบายความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติได้
- รู้จักรูปแบบความคิดที่บิดเบือน
- ประเมินความคิดตัวเองได้
- การปรับความคิด
CBT จะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด ยังไม่มีอาการไบโพล่า และไม่ม่ีความบกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการรักษา
ส่วน Satir model หรือทฤษฎีชาเทียร์ คือ ศาสตร์ของจิตบำบัดในรูปแบบของการเข้าใจความเชื่อของตัวเองแล้วเปลี่ยนชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเปรียบเทียบจิตใจของคนเป็นชั้นต่างๆ ในรูปแบบของภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้มองเห็นภาพได้ผ่าน 3 ขั้นตอนหลัก คือ
- การตั้งเป้าหมาย หรือการหาข้อดีของตัวเราเอง
- เรียนรู้ทฤษฎี Satir Iceberge และการนำไปใช้
- การรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เพื่อให้ได้เป้าหมายทั้ง 3 ด้านคือ สุขภาพดีทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ มีความสุข และมีความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง
3. การรักษาด้วยไฟฟ้า หรือ ECT (Electroconvulsive Therapy) ECT เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่เป็นทางเลือกสุดท้าย มีไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ด้วยการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยมักจะได้รับ ECT 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาทั้งหมดถึง 12 ครั้งโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เช่น จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์ ECT